ของเล่นเสริมพัฒนาการ ที่ต้องมีในปี 2024 สำหรับเด็ก 0-6 เดือน

ของเล่นเสริมพัฒนาการ

ของเล่นเสริมพัฒนาการ ที่ต้องมีในปี 2024 สำหรับเด็ก 0-6 เดือน

ของเล่นเสริมพัฒนาการ สามารถเสริมพัฒนาการได้มากน้อยแค่ไหน และเราจำเป็นที่จะต้องซื้อของเล่นเหล่านี้ให้ลูกไหม นี่อาจจะเป็นคำถามที่อยู่ในใจของคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน เพราะบ่อยครั้งที่จะเห็นว่าลูกอาจไม่สนใจที่จะเล่นของเล่นที่ซื้อมา แต่กลับเล่นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้านแทน จนทำให้นึกเสียดายว่าไม่น่าซื้อมาเลย แต่ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์นั้นบอกว่าอย่างไรกับเรื่องนี้

ของเล่นเสริมพัฒนาการ จำเป็นต้องซื้อหรือไม่

สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ก่อนคือ พัฒนาการของลูกในแต่ละวัยนั้นมีอะไรบ้าง แล้วจึงค่อยหาสิ่งที่จะกระตุ้นพัฒนาการของลูก เพื่อให้เขามีพัฒนาการที่พัฒนาไปตามวัย แต่อย่างไรก็ตามพัฒนาการของเด็กแต่ละคนนั้นอาจจะอิงตามทฤษฎีได้ไม่ทั้งหมด อาจขึ้นอยู่กับนิสัยของเด็กแต่ละคนด้วยเช่นกัน ของเล่นเสริมพัฒนาการจึงไม่ใช่แค่เพื่อความสนุกสนานเท่านั้น แต่ช่วยพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย สังคม และอารมณ์ของเจ้าตัวเล็กด้วยเช่นกัน การเลือกของเล่นเด็กให้เหมาะสมกับวัยจึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ไม่ยาก

แพทย์และผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้ใช้ความบันเทิงที่ไม่มีการโต้ตอบ อย่างการเปิดทีวีและหน้าจอต่างๆ โดยควรเน้นไปที่กิจกรรมและของเล่นที่พัฒนาจินตนาการของเด็ก อย่างการอ่านนิทาน ของเล่นอย่างบล็อกต่อและตุ๊กตาต่างๆ แทนของเล่นที่จำกัดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

หลักการเลือกของเล่นให้ลูก

  • ของเล่นควรมีมาตรฐานหรือเครื่องหมาย CE หรือ Conformité Européene มาตรฐานความปลอดภัยจากการใช้งานและความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมสากล
  • ไม่ควรมีชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กและแหลมคม ที่อาจเสี่ยงต่อการสำลักและบาดเจ็บ
  • มีความทนทานและเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ
พัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย

ในงานวิจัยเรื่องการเล่น ไม่ว่าจะเป็นการเล่นคนเดียว เล่นกับพ่อแม่ การเล่นอิสระ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในหลายๆ สิ่งอย่างเป็นธรรมชาติ เนื่องจากมนุษย์นั้นเรียนรู้การจัดระเบียบและปรับตัวเพื่อให้เกิดความสมดุล โต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการแบ่งระยะเวลาออกเป็น 4 ช่วงใหญ่ๆ ได้ดังนี้

ช่วงวัย 0-2 ปี วัยประสาทสัมผัส

เด็กๆ จะเรียนรู้และทำความรู้จักกับสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว และตัวเอง เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมีความคิดของตัวเอง ของเล่นสิ่งแรกของลูกก็คือตัวของเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นการดูดนิ้วมือและนิ้วเท้า การขว้าจับและปล่อยสิ่งต่างๆ การกำและแบมือ ต่อมาคือการเล่นกับบุคคลที่ใกล้ชิดเขาที่สุด นั่นคือคุณพ่อและคุณแม่นั่นเอง จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่ทั้งพ่อและแม่จะใช้เวลากับลูกน้อยให้มากที่สุด เพื่อสร้างความสัมพันธ์และการผูกพันธ์กับลูก

ช่วงวัย 2-7 ปี วัยเอาแต่ใจ

จะเป็นช่วงที่เด็กๆ จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลก หรือคุณพ่อคุณแม่อาจจะมองว่าเด็กในช่วงอายุนี้ เป็นเด็กที่ค่อนข้างเอาแต่ใจ เอาแต่ความต้องการของตัวเอง เพราะเป็นช่วงที่เด็กๆ เชื่อว่าทุกสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น หากเล่นซ่อนแอบกัน เขาจะมีตรรกะความเชื่อที่คิดว่าถ้าเขาเอามือปิดตามองไม่เห็นคนอื่น คนอื่นก็จะมองไม่เห็นด้วยเช่นกันเขา

ในช่วงระยะเวลานี้การเล่นสมมติ หรือ symbolic play จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในขั้นตอนนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะนึกภาพไม่ออก แต่อยากให้ลองนึกถึงการเอากล้วยมาใช้แทนโทรศัพท์มือถือ หรือการเอาชามข้าวมาเป็นพวงมาลัยขับรถ การสร้างป้อมปราการด้วยหมอน หรือเปลี่ยนบ้านทั้งบ้านเป็นสถานที่ผจญภัย สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการเล่นบทบามสมมติทั้งสิ้น

ช่วงวัย 7-12 ปี วัยที่ทุกอย่างเป็นรูปธรรม

เป็นช่วงวัยที่เด็กสามารถลดความเอาแต่ใจตัวเองลงได้ สามารถเริ่มเข้าใจในมุมของผู้อื่นนอกเหนือขากตัวเอง ความคิดยืดหยุ่นและความคิดอย่างมีหลักเหตุและผลจะถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาเหล่านี้ ทักษะอย่างการจำแนกและจัดกลุ่ม การสื่อสารจะเริ่มมีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่เด็กๆ ในวัยนี้ยังไม่เข้าใจความคิดที่เป็นนามธรรม ทฤษฎีต่างๆ ที่จับต้องไม่ได้ อย่างเรื่อง บ้านเกิด ชาติ หรือประเทศ

ของเล่นเสริมพัฒนาการ

ช่วงวัย 12 ปีขึ้นไป วัยประมวลผล

ช่วงวัยที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่นนี้เด็กๆ จะเริ่มเข้าใจเรื่องที่เป็นนามธรรมต่างๆ อย่างแนวคิด ค่านิยม และความเชื่อต่างๆ เริ่มมีความสนใจในโครงสร้างทางสังคม ปรัชญา และการเมือง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในสมองเมื่อเข้าสู่วัยนี้ โดยมีงานวิจัยว่าเด็กที่เล่นเกมสังคมดราม่าในรูปแบบที่ซับซ้อนจะมีทักษะทางสังคมที่ดี มีความเห็นอกเห็นใจ มีจินตนาการ และสามารถเข้าใจในสิ่งต่างๆ ได้ดี มีความก้าวร้าวน้อยลง ควบคุมตัวเองได้ดี

ของเล่นสามารถส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กได้อย่างมาก กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ทักษะการแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ

พัฒนาการและทักษะที่ได้จากการเล่น

พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development)

ของเล่นสามารถส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กได้อย่างมาก กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ทักษะการแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ

ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยเปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจเหตุและผล พัฒนาความคิดเชิงตรรกะ และเพิ่มความสามารถในการจดจำและสมาธิ ทักษะในการเรียนรู้และคิดวิเคราะห์ เข้าใจสิ่งต่างๆ เข้าใจปัญหาและการแก้ไขปัญหาต่างๆ คืออีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นต้องลูกน้อยในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว

พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development)

ของเล่นมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก ช่วยส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก การประสานงาน ความสมดุล และมิติสัมพันธ์

ของเล่นประเภทบล็อคต่อ เรียงซ้อน การสร้าง การคลาน เดิน หรือการขว้างช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนากล้ามเนื้อและการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา

ของเล่นเสริมพัฒนาการ

การพัฒนาด้านสังคม (Social Development)

ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาสังคมของเด็ก และของเล่นมีส่วนในการพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ ของเล่นที่ต้องร่วมมือกันหรือเล่นหลายคน การเล่นสมมุติ และของเล่นที่ส่งเสริมการแบ่งปันและการผลัดกัน ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ทักษะทางสังคม ความร่วมมือ ความเห็นอกเห็นใจ และการแก้ไขข้อขัดแย้ง

ประสบการณ์ในการเล่นของเล่นเหล่านี้ เป็นการวางรากฐานสำหรับความสัมพันธ์ที่ดีและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

การพัฒนาด้านอารมณ์ (Emotional Development)

ของเล่นเด็ก สามารถมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก โดยส่งเสริมให้มีการแสดงออกและการสำรวจอารมณ์ของตัวเอง เช่น ตุ๊กตาและหุ่นเชิดต่างๆ เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจ การเลี้ยงดู และความเข้าใจอารมณ์ ของเล่นจะช่วยให้เด็กๆ แสดงออกตามสถานการณ์ต่างๆ

ของเล่นเสริมพัฒนาการ ที่ต้องมี

ของเล่นเสริมพัฒนาการมีความสำคัญต่อเด็กทารก เนื่องจากเป็นการวางรากฐานสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาในอนาคต ของเล่นจะช่วยในการพัฒนาทักษะทางประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว การรับรู้ ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็ก ทำให้ลูกน้อยมีโอกาสในการสำรวจและค้นพบ ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทางกายภาพ ของเล่นทำให้เด็กๆ ได้ฝึกทักษะการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา การจับ และการแก้ปัญหา

1.ของเล่นผ้าเสริมพัฒนาการ

Shop
Shopee
Lazada

หนังสือผ้ารูปสัตว์ต่างๆ แต่ละหน้าประกอบไปด้วยรายละเอียดที่แตกต่าง ทั้งภาพ สี และสิ่งที่ก่อให้เกิดเสียง ช่วยฝึกพัฒนาการและทักษะของลูกน้อย ของเล่นผ้ามักมีพื้นผิว สี และลวดลายที่หลากหลาย ให้ลูกน้อยเริ่มสำรวจโลกของตนเองผ่านการสัมผัส พื้นผิวที่แตกต่างกันของของเล่นผ้าช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส

ของเล่นผ้าโดยทั่วไปจะนุ่มและมีน้ำหนักที่เบา ช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บระหว่างการเล่น ทารกสามารถเล่นโต้ตอบกับของเล่นผ้าได้โดยไม่ต้องกังวล อย่างของเล่นที่แข็งหรือหนักกว่า นอกจากนี้ของเล่นผ้าส่วนใหญ่ยังสามารถซักได้ ความทนทานของของเล่นผ้าช่วยให้มั่นใจได้ว่าสามารถทนต่อการซักและเล่นซ้ำๆ ได้

2.เพลย์ยิมเสริมพัฒนาการ

Shop
Shopee
Lazada

ใช้เป็นที่นอนเล่น นั่งเล่น มาพร้อมกับของเล่นแขวนไว้ที่เสาโค้งด้านบน ให้เด็กวัยแรกเกิดฝึก มอง คว้า สังเกต มาพร้อมลูกบอลหลายสี ให้ลูกขว้าจับ กระตุ้นให้ออกกำลังขาและแขนเมื่อโตขึ้นมาสามารถนั่งเล่นได้ ตัวเพลย์ยิมมีสีสันสดใส ฝึกพัฒนาการทางการใช้สายตาและออกกำลังกล้ามเนื้อแขนในการคว้าของเล่น เพื่อช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีครบทุกด้านให้แก่ลูกน้อย เช่น ด้านการเคลื่อนไหว การได้ยิน การรับรู้ การมองเห็น

ช่วยให้ลูกน้อยฝึกและควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กเหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิด ของเล่นเด็กชิ้นนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส และการหยิบจับได้ สามารถพกพาไปในที่ที่ต้องการได้อย่างสะดวก

3.ยางกัดเสริมพัฒนาการ

Shop
Shopee
Lazada

เหมาะสำหรับเด็กที่ชอบเอาของเข้าปาก และเด็กในวัยที่ฟันเริ่มขึ้น ลดอาการคันเหงือก ช่วยเสริมพัฒนาการและฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก หยิบจับง่าย พลาสติก BPA Free ปลอดภัยสำหรับเด็ก

การเคี้ยวยางกัดเป็นกิจกรรมที่ปลอบประโลมสำหรับช่วงที่ฟันกำลังงอก การเคี้ยวจะปล่อยสารเอ็นโดรฟินออกมา ซึ่งช่วยให้เด็กมีอารมณ์ที่ดีและให้ความรู้สึกสบายใจ นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวในปาก ช่วยฝึกการประสานงานและความแข็งแรงในการเคี้ยวและกราม

การเก็บและทำความสะอาด ของเล่นเสริมพัฒนาการ

1. ของเล่นพลาสติก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็กที่ชอบเอาของเล่นเข้าปาก การทำความสะอาดเป็นประจำคืนสิ่งที่ควรทำ หากเป็นของเล่นที่เล่นในบ้านอาจจะล้างทำความสะอาดสัปดาห์ละครั้ง แต่สำหรับของเล่นที่ลูกเอาเข้าปาก ควรล้างด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งหลังจากเล่นเสร็จ และอาจจะฆ่าเชื้อสัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย

ทั้งนี้ควรอ่านวิธีการทำความสะอาดและการดูแลรักษาของเล่น จากบริษัทผู้ผลิตทุกครั้งก่อนที่จะให้ลูกเล่น

2. ของเล่นยัดไส้และผ้า
ควรตรวจสอบฉลากว่ามีวิธีการดูแลอย่างเพื่อดูว่าของเล่นยัดไส้หรือผ้าสามารถซักด้วยเครื่องได้หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ให้ใส่ปลอกหมอนหรือถุงซักผ้าแล้วซักตามคำแนะนำ เนื่องจากของเล่นผ้าบางอย่างอาจจะไม่สามารถซักหรือล้างได้ แต่ผู้ผลิตแนะนำว่าควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเป็นต้น

หลักซักควรแน่ใจว่าแห้งสนิทจริงๆ ของที่ลูกจะเล่น เนื่องจากความชื้นเป็นสาเหตุจากเชื้อรา

3. ของเล่นไม้
ของเล่นไม้ส่วนใหญ่ ผู้ผลิตอาจไม่แนะนำให้ล้างด้วยน้ำ เนื่องจากความชื้นที่มากเกินไปอาจทำให้ไม้เสียหายได้ การทำความสะอาดพื้นผิวอาจจะเป็นการเช็ดของเล่นไม้ด้วยผ้าสะอาดและหมาดเท่านั้น

4. ของเล่นตอนอาบน้ำ
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแนะนำให้ตากให้แห้ง หลังจากการใช้งานแต่ละครั้ง หรือให้บีบน้ำส่วนเกินออกจากของเล่นอาบน้ำเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราภายใน นอกจากนี้สำหรับของเล่นที่มีการต่อที่ซับซ้อน อาจจะต้องถอดชิ้นส่วนของเล่นเป็นระยะ เพื่อทำความสะอาดอย่างเข้าถึง

Ref : ncbi, medium

Share this post