Clevafoam จาก Clevamama

All about ClevaFoam® จาก Clevamama

จากการวิจัยและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก อย่าง Trinity College ในประเทศไอร์แลนด์ ทำให้ ClevaFoam® จาก Clevamama ได้รับการออกแบบและพัฒนาผสานเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม และชีวภาพ เพื่อให้สามารถสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเด็กวัยทารก การพัฒนากระดูกข้อต่อต่างๆ รวมไปถึงช่วยปกป้องรูปร่างศีรษะที่อ่อนนุ่มของเด็กทารก ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระโหลกศีรษะผิดรูปหรือที่เราเรียกกันว่า หัวเบี้ยวแบนได้ สินค้า ClevaFoam จาก Clevamama

Clevafoam จาก Clevamama
Clevafoam จาก Clevamama
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยดับลินที่รับรองว่า Clevafoam สามารถป้องกันการเกิดศีรษะแบนได้

ClevaFoam® เป็นโฟมชนิดเดียวที่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า ช่วยลดแรงกดทับที่เกิดขึ้นในเวลานอนได้ถึง 50% (Trinity College, University of Dublin, Ireland) นอกจากนี้ ClevaFoam® ยังเป็นโฟมที่ Hypo-allergenic ผ่านการทดสอบทางการแพทย์ว่ามีความอ่อนโยน ไม่ก่อให้เกิดการแพ้และระคายเคืองต่อผิวแพ้ง่ายหรือผิวที่บอบบาง เช่น ผิวของทารก , pH balanced ไม่ทำให้สมดุลความเป็นกรด-ด่างของผิวเปลี่ยนแปลงไป และยังปราศจากสารพิษต่างๆ ทั้งพวก Phthalates และ Formaldehyde ทั้งหมดนี้ทำให้ ClevaFoam® นอกจากช่วยเรื่องการป้องกันหัวแบนแล้ว ยังอ่อนโยนต่อทารก ไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ สามารถใช้ในเด็กและทารกที่มีปัญหาหอบหืดและแพ้ง่ายอีกด้วย

Clevafoam จาก Clevamama

CLEVAFOAM® EXECUTIVE SUMMARY OF REPORT

ภาวะกระโหลกศีรษะผิดรูปหรือที่เราเรียกกันว่า หัวเบี้ยวแบน พบได้ทั่วไปในเด็กทารก โดยมีลักษณะของกระโหลกแบนลงด้วยบริเวณที่ได้รับการกดทับจากการนอนหงาย และนอนตะแคง ซึ่งภาวะหัวเบี้ยวแบนในปัจจุบันพบมากขึ้นจากการนอนหงาย แนะนำให้เลี่ยงการนอนคว่ำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไหลตายในทารก (SIDs)
จึงได้มีการวิจัยประสิทธิภาพในการป้องกันหัวแบนโดยการกำหนดกลุ่มเปรียบเทียบระหว่างการนอนบน ClevaFoam® กับการนอนบนวัสดุทั่วไป แล้ววัดแรงกดทับที่เกิดขึ้นบริเวณที่ศีรษะสัมผัสกับที่นอน

Clevafoam จาก Clevamama

RESULTS

จากการวิจัยดังกล่าวทำให้ ทราบถึงความสามารถของ ClevaFoam® ที่มีความยืดหยุ่นสูง ส่งผลให้เวลานอนลงบน ClevaFoam® ตัวเนื้อโฟมจะยืดหยุ่นไปตามลักษณะของศีรษะ ทำให้มีพื้นผิวสัมผัสระหว่าง ClevaFoam® กับศีรษะมากกว่าการใช้วัสดุทั่วไปถึง 80% เมื่อมีพื้นผิวสัมผัสที่มากขึ้นก็ทำให้เกิดการกระจายแรงได้ดีกว่าวัสดุทั่วไป เมื่อวัดแรงกดทับที่เกิดขึ้นในบริเวณเดียวกัน จึงพบว่า ClevaFoam® เกิดแรงกดทับที่น้อยกว่าวัสดุทั่วไปถึง 50% แรงกดทับที่ลดลงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะกระโหลกศีรษะผิดรูปได้

Clevafoam จาก Clevamama
รูปแสดงสเปคตรัมเปรียบเทียบ ระหว่างที่นอนธรรมดากับที่นอน ClevaFoam® จากรูปจะเห็นได้ว่าที่นอนธรรมดาจะมีแรงกดทับ (สีเหลืองแดง) มากกว่าที่นอนที่ทำจาก ClevaFoam® โดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ

ClevaFoam® คืออะไร
ClevaFoam® คือโฟมชนิด low resillience polyurethane foam (พัฒนาต่อจาก Memory Foam)

ClevaFoam® เหมือนกับ Memory Foam หรือไม่
ไม่เหมือนกัน
ClevaFoam® จะมีความแตกต่างด้านโครงสร้างของโฟม
โดยปกติแล้ว Memory Foam ทั่วไปจะมีลักษณะโครงสร้างแบบปิด ทำให้ตัวโฟมของ หนักและแน่นจนทำให้อากาศไหลผ่านได้ไม่มากนัก ส่งผลให้เกิดการสะสมความร้อน ในขณะที่ ClevaFoam® จะมีโครงสร้างแบบเปิด มีน้ำหนักที่เบากว่าและอากาศไหลผ่านได้มากกว่า สามารถหายใจผ่าน ClevaFoam® ได้และไม่ทำให้สะสมความร้อน

ClevaFoam® สามารถทำความสะอาดได้หรือไม่ ทำความสะอาดอย่างไร
ClevaFoam® ถูกพัฒนามาให้สามารถทำความสะอาดได้ โดยการซักมือร่วมกับน้ำยาซักผ้าเด็ก และทำให้แห้งด้วยการบิด ตากแดดอ่อนๆ หรือตากลม

ClevaFoam® สามารถหายใจผ่านได้หรือไม่
หายใจผ่านได้ เพราะ ClevaFoam® จะมีโครงสร้างแบบเปิดที่ทำให้อากาศไหลเวียนได้สะดวก

เด็กที่มีปัญหาภูมิแพ้ หอบหืด สามารถใช้ ClevaFoam® ได้หรือไม่
คุณสัมบัติอย่างหนึ่งของ ClevaFoam® คือ Hypo-allergenic, pH balanced และปราศจากสารพิษ Phthalates, toxin & formaldehyde ทำให้สามารถใช้ในเด็กที่มีปัญหาภูมิแพ้ หอบหืดได้ และยังมีคุณสมบัติในการป้องกันไรฝุ่นอีกด้วย

Clevafoam จาก Clevamama
หมอนกันไรฝุ่น หมอนกันภูมิแพ้
Clevamama & Certified Asthma & Allergy friendly
ปลอดภัยต่อเด็กที่เป็นภูมิแพ้ เครื่องนอนที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ จากสถาบันทดสอบผลิตภัณฑ์ภูมิแพ้ Allergy Standard Ltd. ASL สหรัฐอเมริกา ว่าสามารถใช้ได้ในเด็กๆ ที่เป็นภูมิแพ้และหอบหืด

►►►►     สนใจดูสินค้า คลิก     ◄◄◄◄

เพิ่มเพื่อน

เลือกหมอนลูกยังไงให้ปลอดภัย

มีคำแนะนำจากสถาบัน American Academy of Pediatrics ในปี 2022 เกี่ยวกับความปลอดภัยในการนอนของทารกไว้ว่า ควรให้ลูกน้อยของคุณนอนหลับโดยไม่มีอะไรอยู่ในเปลจนกว่าพวกเขาจะอายุอย่างน้อย 12 เดือน ซึ่งหมายรวมไปถึงหมอน ผ้าห่ม และอื่นๆ ซึ่งอาจจะทำให้เป็นสาเหตุใหญ่ของโรคไหลตายในทารก (SIDs) กลับกันการปล่อยให้ลูกน้อยนอนโดยไม่มีสิ่งใดรองรับบริเวณศีรษะก็เสี่ยงเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากภาวะหัวเบี้ยวแบนในปัจจุบันพบมากขึ้นจากการนอนหงาย วัสดุที่นำไปทำหมอนส่วนใหญ่ในตลาด จะเป็นหมอนใยสังเคราะห์ หมอนขนเป็ด หมอนยางพารา หมอนผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นอันตรายต่อทารกแรกเกิดในการอุดกั้นจมูกและปาก หากนอนคว่ำจะไม่สามารถหายใจได้เลย หมอนที่เหมาะสมกับทารกจึงต้อง…

  • ลดแรงกดทับที่เกิดขึ้นในเวลานอนได้
  • ไม่ก่อให้เกิดการแพ้และระคายเคืองต่อผิวแพ้ง่าย
  • ปราศจากสารพิษต่างๆ
  • เฟิร์มตึงแต่ยังสามารถหายใจผ่านได้
  • เป็นที่หมอนป้องกันหัวเบี้ยว หมอนกันหัวแบน หมอนหัวทุย